หน้าหลัก >> รู้จักหน่วยงาน >> จำนวนผู้เข้าชม: 35,665 ภารกิจ ยุทธศาสตร์และนโยบายกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี
ด้วยองค์ความรู้
และการมีส่วนร่วมของประชาชน
ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เป็นมิตร
และสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
๑. สื่อสารและเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงองค์ความรู้ และสารสนเทศสิ่งแวดล้อม
๒. สร้างจิตสำนึก เพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถของประชาชนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
๔. ศึกษา วิจัย รวบรวม พัฒนาสารสนเทศ องค์ความรู้และนวัตกรรม ในการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
๑. เป็นศูนย์กลางข้อมูลที่ดำเนินการจัดทำข้อมูล รวบรวมข้อมูล กระจายข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อม
๒. ใช้ระบบการสื่อสารสาธารณะ เป็นช่องทางในการดำเนินงานส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับทุกภาคส่วนในสังคมอย่างกว้างขวาง
๓.ส่งเสริมอาสาสมัครในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ พร้อมทั้งบุคลากรหลักและผู้นำเครือข่ายเพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง Change Agent
๔. พัฒนาศักยภาพของพื้นที่ต้นแบบ / ศูนย์เรียนรู้ เพื่อให้เกิดการขยายผลในวงกว้าง
๕. ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการและบูรณาการให้ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์กรม รวมทั้งต่อยอดให้สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs และ Thailand 4.0
๖. พัฒนาเครื่องมือ / กลไกในเชิงนวัตกรรมใหม่ด้านการมีส่วนร่วม
การส่งเสริมการผลิตและการบริโภค
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
- ประชาชนปรับพฤติกรรมมุ่งสู่สังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การสร้างวินัยคนในชาติ
จัดการขยะและสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
- ประชาชนมีการปรับพฤติกรรมการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม
การสร้างความตระหนักและขีดความสามารถ
ในการลดก๊าซเรือนกระจก
และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมาย
- เพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนากลไก ขีดความสามารถในการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ ระดับบุคคล / ชุมชน
การส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
ในเมืองและชุมชน
เป้าหมาย
- เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองและชุมชน
การพัฒนาระบบบริหาร
จัดการและองค์กร
เป้าหมาย
- เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการองค์กร
สื่อสารดี
มีจิตสาธารณะ
พร้อมพัฒนา
สร้างคุณค่าให้สังคม
ทั้งนี้ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ (ตามกรอบเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกำหนดให้ "การบริโภคสีเขียว" (Green Consumption) เป็นประเด็นหลักของแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดผลงานเชิงประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ "ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น" และมีตัวชี้วัด ประกอบด้วย
- ประชาชนฉลาดซื้อ-ฉลาดใช้ หมายถึง พฤติกรรมการเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าและบริการของประชาชนที่ปรับเปลี่ยนไป ได้แก่ ปริมาณการซื้อที่ลดลง บริโภคเท่าที่จำเป็น (ปริมาณ/คุณภาพ/เวลา) ไม่ตกเป็นเหยื่อโฆษณา ยอมจ่ายแพงกับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- มีสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Product) เพิ่มขึ้นมากมาย และหลากหลายประเภท
- มีตลาดสำหรับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Market) แพร่หลาย และประชาชนสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการเหล่านี้ได้ง่ายและสะดวกสบายยิ่งขึ้น (ทั้งนี้โดยคำนึงถึง ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย ที่เหมาะสมกับแต่ละประเภท ของสินค้าและบริการ)
- มีการจัดการของเหลือหลังการอุปโภคบริโภค หมายรวมถึง การลดปริมาณวัสดุเหลือใช้จากการอุปโภค บริโภค รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) เป็นต้น
นโยบายและแนวปฏิบัติ ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๙ >>>คลิก<<<
แผนบริหารจัดการความเสี่ยงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (IT RISK MANAGEMENT) >>>คลิก<<<
แผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินจากภัยพิบัติระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT CONTINGENCY PLAN) >>>คลิก<<<